วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมืองลพบุรี

 ลพบุรี เป็นเมืองที่มีแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   มีหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญ ดังกล่าว ได้แก่                                        - ารขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา  ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค  อายุระหว่าง3,500-4,500  ปี                 - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่  ที่บ้านโคกเจริญ  อายุระหว่าง 2,700-3,500  ปี                 - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด  ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  อายุระหว่าง 2,300 - 2,700 ปี                 - การขุดพบชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี  ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง  เมืองโบราณดงมะรุม อ.โคกสำโรง  เมืองใหม่ไพศาลี  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี                - การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหรียญทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตามคตินิยมของที่ต.หลุมข้าว  อ.โคกสำโรง 
           การพบหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่า  ลพบุรี  เป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในส่วนของการ สร้างเมืองลพบุรีนั้น  ตามประวัติศาสตร์ในพงศาวดารโยนก  กล่าวว่า  ผู้สร้างเมืองลพบุรีหรือที่เรียกว่า "ละโว้" ในสมัยโบราณ คือ "พระเจ้ากาฬวรรณดิษ" ราชโอรสแห่งพระเจ้ากรุงขอม  ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1002 และเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ ่สมัยทวารวดีเคยอยู่ใต้อำนาจของมอญและขอม  จนกระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ คนไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  ลพบุรีดำรงฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  กล่าวคือ  พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี  ซึ่งพระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม คูเมืองและสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตในปีพ.ศ.1912  พระราเมศวรได้ถวายราชบัลลังค์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์  ซึ่งได้ครองราชย์ พระนามว่า  พระบรมราชาธิราชที่ 1  ส่วนพระ ราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีต่อไปจนถึง พ.ศ.1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา 

ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร 
          "ปราสาทเขาพระวิหาร" หรือ "ปราสาทพระวิหาร" เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนเทพสถิตย์บนขุนเขาหรือ "ศรีศิขเรศร" เป็น "เพชรยอดมงกุฎ" ขององค์ศิวะเทพ (พระอิศวร) ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก มีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ ส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาวและบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับ) 

          ปราสาทเขาพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้น เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้น และปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนของ "ขะแมร์กัมพูชา" (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบัน และในภาคอีสานของเรา ขะแมร์กัมพูชา เป็นชนชาติที่มีความสามารถยิ่งในการสร้าง "ปราสาท" ด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งขะแมร์กัมพูชาก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ "ยโสวรมันที่ 1" ถึง "สุริยวรมันที่ 1" เรื่อยมาจน "ชัยวรมันที่ 5-6" จนกระทั่งท้ายสุด "สุริยวรมันที่ 2" และ "ชัยวรมันที่ 7" จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง)  
          ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู) คั่นอยู่ 5 ชั้น (โคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้าจะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้ 

          เดิมทีปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ  

          ต่อมาเมื่อปี 2450 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส (ปกครองเขมรขณะนั้น) อาศัยแสนยานุภาพทางทหารบีบให้รัฐบาลสยาม (ไทย) ยอมเขียนแผนที่กำหนดให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามก็ยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศษสร้างขึ้นมาแต่โดยดีโดยมิได้ทักท้วง (ซึ่งแต่เดิมถ้าแบ่งตามสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เขาพระวิหารจะอยู่ในฝั่งไทยแต่พอแบ่งตามแผนที่ใหม่ของปี 1907จะอยู่ในฝั่งกัมพูชา) อาจจะเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ในขณะนั้น และคนไทยก็ยังสามารถเข้าไปยังปราสาทเขาพระวิหารได้โดยง่าย  

          ทั้งๆ ที่ไม่ว่าจะตามสนธิสัญญาเดิม พ.ศ.2447 หรือตามสภาพภูมิศาสตร์ กำหนดให้อยู่ในดินแดนของไทยอย่างชัดเจน จนวันที่ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา ภายใต้การหนุนหลังของฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ 
"แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"   เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย   โบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการทั้งด้านเศรษฐกิจ วิทยาการและศิลปะอย่างแท้จริง และพัฒนาการเหล่านั้นได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมานับพัน ๆ ปี
               วัฒนธรรมบ้านเชียงจึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันๆ ปี โดยมีการพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรกคือเมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รวมทั้งมีการจัดระบบเช่น การฝังศพเป็นประเพณีสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายสมัย นับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดระบบสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่น"การผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง", "การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ" โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง มิได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกัน

เจ้าตาก

อาณาจักรสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุดสุโขทัย เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วสารทิศมาพบปะกันจริงๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นของประวัติศาสตร์ มีการปรากฏตัวของ มะกะโท ซึ่งเป็นพ่อค้า และยังมีการเข้าตีเมืองตาก โดยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของสุโขทัย ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า สุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้[ต้องการอ้างอิง] โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง สันนิษฐานว่าเป็นผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ[ต้องการอ้างอิง] เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุสงครามอย่างที่เข้าใจกัน เพราะขอมสบาดโขลญลำพงครองสุโขทัยเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถชี้ชัดระยะเวลาที่แท้จริงได้ก็ตาม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.sukhothai.go.th/tour/tour_01.htm

เมืองจำลอง




เมืองจำลองตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 143 เลยสี่แยก ตลาดนาเกลือ ประมาณ 500 เมตร เป็น สถานที่รวบรวมของโบราณสถาน และสถานที่สำคัญ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานพระราม 9 ปราสาทหินพิมาย ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีมินิยุโรป ซึ่งจำลองสถาปัตยกรรม ที่มีชื่อเสียง ของประเทศต่างๆ ทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป และอเมริกา เช่นหอไอเฟล เทพี สันติภาพ แกรนแคนยอน ฯลฯ
เมืองจำลอง ก็เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดแบบเดียวกันนี้ โดยคุณเกษม เกษมเกียรติสกุล ซึ่งมีความสนใจ งานศิลปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อีกทั้งยังได้มีโอกาสเดินทาง ไปทำธุรกิจ และทำท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ในหลายประเทศ และในส่วนนี้ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่ได้ไปเยือนแล้ว เกิดความ ประทับใจ จนกระทั่งได้มีโอกาสไปเที่ยวชมที่ Madurodum ประเทศเนเธอแลนด์ และ Window on China ประเทศ ไต้หวัน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้จำลองสถานที่ และสถาปัตยกรรมที่สำคัญของโลกมารวบ รวมไว้ในอัตราส่วน1:25 เพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม จึงได้เกิดความคิดว่าในเมืองไทยก็มีศิลปะที่มีความ สวยงามไม่แพ้กันรวมทั้ง สถาปัตยกรรม และโบราณสถานทางประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่งซึ่งโอกาสที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะสามารถไปเที่ยวชมในทุกสถานที่นั้นมีน้อยมากแต่ถ้าเรา สามารถรวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ เหล่านี้มาจำลองรวมไว้ใน ที่เดียวกัน โดยยังคงรักษารายละเอียดไว้ได้เหมือน สถานที่จริง คงจะทำให้นักท่องเที่ยวรวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่ได้ ้เข้าไปสัมผัส ได้รับรู้คุณค่า และความสวยงาม ของสถาปัตยกรรมไทยได้มากขึ้น หลังจากที่เกิดแนวคิดนี้ คุณเกษม เกษมเกียรติสกุล ได้ใช้เวลากว่า 5 ปีใน การเดินทางไปสำรวจและศึกษาสถานที่ สำคัญต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนยังต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษา และรวบรวมงานศิลปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีความโดดเด่น เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมา ถ่ายทอดผ่านผลงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ์ตามแนวคิดที่ได้ตั้งใจไว้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2529 เมืองจำลองจึงเกิด ขึ้นภายใต้แนวคิดดังกล่าวที่ต้องการให้เป็นสถานที่
ท่องเที่ยวเชิงวิชาการในพื้นที่ 30 ไร่

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.paiduaykan.com/76_province/east/.../minisiam.html

เมืองโบราณ สมุทรปราการ




เมืองโบราณ - สมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนายประไพ วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย เป็นสถานที่รวบรวมวัฒนธรรม ของไทย อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 800 ไร่ ลักษณะที่ดินมีผังบริเวณคล้ายรูปขวาน เหมือนกับอาณาเขตของประเทศไทย ภายในจะมีโบราณสถาน ปูชนียสถาน วัดโบราณ พระราชวัง ต่างๆ เป็นต้น และยังมี ส่วนรังสรรค์เป็นสถานที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของไทย มีไว้จัดแสดงที่นี่ด้วย ใน พ.ศ. 2549 รายการอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6 รายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาได้ นำผู้เข้าแข่งขันมาแข่งรอบชิงชนะเลิศที่นี่ โดยใช้ศาลาพระอรหันต์ซึ่งเป็นศาลากลางน้ำขนาดใหญ่เป็นรันเวย์ และถือได้ว่าเป็นเวทีเดินแบบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการ นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่ภายในพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทจำลองเป็นสถานที่ในการ ตัดสินผู้ชนะอีกด้วย วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 500 คน นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางมายังเมืองโบราณ เพื่ออ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายภาคีทวงคืนดินแดนแผ่นดินไทย จะดำเนินการทุกวิถีทางตามกรอบของกฎหมาย เพื่อทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหารมา เป็นของคนไทย จะดำเนินคดีกับคนที่ทำให้แผ่นดินไทยต้องถูกรุกล้ำ และทำให้เสียดินแดน ขอให้ชาวกัมพูชาที่รุกล้ำแผ่นดินไทยออกนอกพื้นที่ และประณามคณะกรรมการมรดกโลกที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและลำเอียง หลังจากนั้น ทั้งหมดได้ร่วมกันเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา ร้องเพลงชาติไทย ดังกึกก้องเมืองโบราณ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.ancientcity.com/?q=/th/how-to-visit

การเสียกรุงอยุธยาครั้งที่2




การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
ใน พ.ศ. 2295 พระเจ้าอลองพญาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พม่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีพระราชประสงค์จะขยายอาณาเขต จึงยกทับมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพกลับไปและสิ้นพระชนม์ในระหว่างทาง ต่อมาพระเจ้ามังระซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอลองพญาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสั่งเดินทัพเข้ามา 2 ทาง โดยทัพแรกมอบให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพยกมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยา แล้วให้ย้อนกลับมาตีกรุงศรีอยุธยา ส่วนทัพที่ 2 มอบให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกทัพมาตีเมืองทวายและกาญจนบุรี แล้วให้มาสมทบกับเนเมียวสีหบดีเพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน พม่าล้อมกรุงอยู่นาน1 ปี 2 เดือน ก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ในขณะที่เกิดสงครามนั้น พระยาตากสินถูกเกณฑ์ให้มาช่วยรักษาพระนครและได้แสดงฝีมือการรบจนได้เบื่อนยศเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมารู้สึกท้อแท้ใจเนื่องจากพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีความสามารถ จึงได้รวบรวมคนไทยประมาณ 500 คน ตีฝ่าทัพพม่าออกมาได้สำเร็จ และถูกฝ่ายพม่าติดตามแต่ก็สามารถตีพม่าแตกพ่ายไป ทำให้มีราษฎรมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งค่ายอยู่ที่จันทบุรี เมื่อรวบรวมคนไทยได้ประมาณ 5,000 คน และมีเรือรบอีกประมาณ 100 ลำ พระยาตากสินจึงยกทัพเข้าตีกองทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งขณะนั้นมีสุกี้พระนายกองคุมกองทัพอยู่
พระยาตากสินทำการรบอย่างกล้าหาญได้รับชัยชนะ สามารถยึดค่ายได้ เจ้านายและข้าราชการจึงพร้อมใจกันอัญเชิญให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในปลาย พ.ศ. 2310 พระองค์ทรงใช้เวลาในการกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้หลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าครั้งที่ 2 เพียง 7 เดือนเท่านั้น
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
ใน พ.ศ. 2295 พระเจ้าอลองพญาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พม่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีพระราชประสงค์จะขยายอาณาเขต จึงยกทับมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพกลับไปและสิ้นพระชนม์ในระหว่างทาง ต่อมาพระเจ้ามังระซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอลองพญาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสั่งเดินทัพเข้ามา 2 ทาง โดยทัพแรกมอบให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพยกมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยา แล้วให้ย้อนกลับมาตีกรุงศรีอยุธยา ส่วนทัพที่ 2 มอบให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกทัพมาตีเมืองทวายและกาญจนบุรี แล้วให้มาสมทบกับเนเมียวสีหบดีเพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน พม่าล้อมกรุงอยู่นาน1 ปี 2 เดือน ก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ในขณะที่เกิดสงครามนั้น พระยาตากสินถูกเกณฑ์ให้มาช่วยรักษาพระนครและได้แสดงฝีมือการรบจนได้เบื่อนยศเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมารู้สึกท้อแท้ใจเนื่องจากพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีความสามารถ จึงได้รวบรวมคนไทยประมาณ 500 คน ตีฝ่าทัพพม่าออกมาได้สำเร็จ และถูกฝ่ายพม่าติดตามแต่ก็สามารถตีพม่าแตกพ่ายไป ทำให้มีราษฎรมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งค่ายอยู่ที่จันทบุรี เมื่อรวบรวมคนไทยได้ประมาณ 5,000 คน และมีเรือรบอีกประมาณ 100 ลำ พระยาตากสินจึงยกทัพเข้าตีกองทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งขณะนั้นมีสุกี้พระนายกองคุมกองทัพอยู่
พระยาตากสินทำการรบอย่างกล้าหาญได้รับชัยชนะ สามารถยึดค่ายได้ เจ้านายและข้าราชการจึงพร้อมใจกันอัญเชิญให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในปลาย พ.ศ. 2310 พระองค์ทรงใช้เวลาในการกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้หลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าครั้งที่ 2 เพียง 7 เดือนเท่านั้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.2phraarthit.net/files/Ayudhaya.pdf

การเสียกรุงอยุธยาครั้งที่1



การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่าครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช สาเหตุของการเสียกรุงเนื่องมาจาก
1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรวรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
3. พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า
4. ไทยว่างเว้นการสงครามมานาน พอมีศัตรูมารุกรานก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

เหตุการณ์ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1
ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 มีเหตุการณ์ลำดับได้ ดังนี้
1. ใน พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมารุกรานไทย แต่ไม่สำเร็จ และในสงครามครั้งนี้ไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญคือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
2. ใน พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ต้องการจะมีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคนี้ จึงหาเหตุมาขอช้างเผือก 2 เชือกจากช้างเผือก 7 เชือกที่พระมหาจักรพรรดิทรงจับได้ พระมหาจักรพรรดิไม่ยอมให้จึงเกิดการต่อสู้กัน ไทยเสียเปรียบจึงต้องยอมยกช้างเผือก 4 เชือก และต้องส่งพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกันที่เมืองพม่า
3. ใน พ.ศ. 2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้สมเด็จพระมหินทราธิราชซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์เสด็จออกผนวช ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นเวลานาน แต่ตีเข้าไม่ได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ลาผนวชออกมาบัญชาการศึก และสิ้นพระชนม์ในระหว่างการรบ ทำให้คนไทยขาดขวัญและกำลังใจ
4. พม่าทำอุบายส่งตัวพระยาจักรีกลับคืน โดยให้เป็นไส้ศึกให้กับกองทัพพม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาจึงพ่ายแพ้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ใน พ.ศ. 2112 ซึ่งเป็นการสูญเสียเอกราชของคนไทยเป็นครั้งแรก

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.maceducation.com/e-knowledge/2363104100/07.htm

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

กรุงสุโขทัย


แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 200 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้" กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีเถร มหาเถร.."

ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น "มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง..." นอกจากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมของสุโขทัย คือ สรีดภงส์ พร้อม กับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่า ถึง 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน

การขนส่งเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย

สังคมชาวเมืองสุโขทัย เป็นสังคมที่เรียบง่าย เพราะประชาชนมีจำนวนไม่มาก จึงใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง และเคารพพระมหากษัตริย์ดุจบุตรที่มีความเคารพต่อบิดาของตน ส่วนพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ทรงเข้าถึงจิตใจ และให้ความใกล้ชิดและเป็นกันเองกับราษฎร เมื่อราษฎรมีเรื่องทุกข์ร้อนก็สามารถกราบบังคมทูลได้ด้วยตนเอง โดยการมาสั่นกระดิ่งที่ประตูไม่ว่าจะเป็นเวลาใด พระองค์จะเสด็จมารับฟังทุกเรื่องด้วยพระองค์เอง ด้วยดังปรากฏในหลักศิลาจารึก ด้านที่ 1 ว่า " ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มันจัก กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่ง และศิลาจารึก ด้านที่ 3 ว่า " ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ถือบ้านถือเมือง "


แหล่งอ้างอิง www1.mod.go.th/heritage/nation/.../sukhotai.htm

กบฏบุญกว้าง

กบฎบุญกว้างเป็นกบฎที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระเพทราชาอีกเช่นกัน แต่กบฎครั้งนี้เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากส่วนกลาง เพราะเป็นกบฎที่เกิดขึ้นที่เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญที่ส่วนกลางใช้เป็นฐานอำนาจในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ฟากตะวันออกเฉียงเหนือ
กบฎครั้งนี้เกิดภายใต้ภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่แปลกออกไปโดยเฉพาะเงื่อนไขทางสังคม  ซึ่งรวมถึงลักษณะของประชากร ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติลาว และลักษณะวัฒนธรรมและความเชื่อของคนเชื้อชาตินั้น กบฎครั้งนี้ เป็นกบฎลาว ผู้นำกบฎชื่อบุญกว้าง มีถิ่นฐานอยู่แขวงหัวเมืองลาวตะวันออก บุญกว้างเป็นคนที่มี ความรู้ วิชาการดีมีสมัครพรรคพวกรวม ๒๘ คน บุญกว้างได้นำสมัครพรรคพวกเข้ายึดครองนครราชสีมาโดยอาศัยวิทยาคุณทางไสยศาสตร์กำหราบเจ้าเมืองและขุนนางคนอื่น ๆ ต่อมาเจ้าเมืองนครราชสีมากระทำกลอุบายแหย่ให้บุญกว้างนำกองทัพยกลงไปตีกรุงศรีอยุธยา จนเป็นเหตุให้บุญกว้างเสียทีและถูกจับกุมตัวประหารชีวิตในภายหลัง
พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศได้ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปกล่าวคือ
หลังจากที่บุญกว้างและพวกทั้ง ๒๘ คนยึดเมืองนครราชสีมาได้แล้วทางอยุธยาได้ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเป็นเวลานานถึง ๓ ปีก็ตีเมืองไม่สำเร็จชาวเมืองต่างอดอยากเป็นอันมากพวกกบฎทั้ง ๒๘ คนจึงได้หลบหนีออกจากเมืองตามจับตัวไม่ได้ ส่วนแม่ทัพนายกองฝ่ายอยุธยาได้กิตติศัพท์ ว่าพระเพทราชาสวรรคตจึงถอยทัพกลับลงมาด้วยเข้าใจว่าข่าวนั้นเป็นจริง เป็นอันว่าการตีนครราชสีมาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ
  ส่วนกลาง (.. ๒๒๓๑) ยังความไม่พอใจมาให้กับขุนนางท้องถิ่นที่เป็นฐานอำนาจเดิมของพระนารายณ์ คือพระยายมราชสังข์ เจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พระเพทราชาต้องใช้เวลาปราบกบฎทั้งสองครั้งนี้ราว ๑๐ ปีจึงปราบสำเร็จ อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดกองทัพอยุธยาก็สามารถตีเมืองนครราชสีมาได้แต่พระยาราชสังข์ก็สามารถพาครอบครัวหลบหนีออกจากเมืองได้เช่นกัน หลังจากสงครามครั้งนี้ประมาณ ๖ ปี จึงได้เกิดกบฎบุญกว้างขึ้น
ศึกนครราชสีมาภายใต้การนำของพระยายมราชสังข์ดูจะเป็นกุญแจสำคัญที่พอจะใช้คลี่คลายเงื่อนงำของกบฎบุญกว้างที่เกิดตามมาในภายหลังได้ แต่ก่อนจะไปถึงประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นเขตที่ชนเชื้อชาติลาวอาศัยรวมกันอยู่หนาแน่น การที่อยุธยาจะรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างฐานอำนาจที่มั่นคงในเขตนั้นให้ได้ เมืองที่สำคัญจะเป็นศูนย์อำนาจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนั้นคือเมืองนครราชสีมา กษัตริย์ที่ส่วนกลางจึงจำเป็นต้องส่งขุนนางที่เข้มแข็ง ทั้งในการปกครองและการรบไปครองเมืองนี้ และที่สำคัญคือขุนนางผู้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์และไว้ใจได้ ด้วยเหตุนี้พระนารายณ์จึงทรงเลือกให้พระยายมราชสังข์ไปครองเมืองนครราชสีมา ครั้นเมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชย์พระยายมราชสังข์ก็พยายามแยกหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็นอิสระจากส่วนกลาง ซึ่งก็สามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
อย่างไรก็ดีภายหลังจากที่พระยายมราชสังข์สิ้นอำนาจลง ปัญหาที่เกิดตามมา คือขุนนางที่ขึ้นมาครองเมืองนครราชสีมาสืบต่อขาดซึ่งอำนาจบารมีพร้อมทั้งฐานกำลังสนับสนุนเช่นพระยายมราชสังข์เป็นไปได้ว่าสถานการณ์ขณะนั้นไม่เปิดโอกาสให้พระเพทราชาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นแทนอำนาจพระยายมราชสังข์เช่นกันทั้งนี้เพราะการปราบกบฎก็ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นก็ยังคงแข็งเมืองอยู่
ความอ่อนแอของเจ้าเมืองใหม่และการสลายตัวของกลุ่มอำนาจเดิมย่อมผลักดันให้เกิดภาวะความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในชุมชนของชาวลาวซึ่งกระจายตัวอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเปิดโอกาสให้บุญกว้างและสมัครพรรคพวกอ้างตัวเป็นผู้มีบุญและก่อการกบฎขึ้น
เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากบฎบุญกว้างเป็นกบฎเดียวในสมัยอยุธยาที่มีส่วนใกล้เคียงกับกบฎผู้มีบุญภาคอีสานในสมัยรัตนโกสินทร์ การตั้งตัวเป็น ผู้มีบุญของบุญกว้างย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากชาวลาว ซึ่งมีเชื้อชาติเดียวกันและใช้วัฒนธรรมร่วมกัน หากความในพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศเชื่อถือได้ก็ไม่ใช่ของแปลกที่ชาวนครราชสีมาต่างให้ความร่วมมือกับพวกกบฎเป็นอันดีในการพิทักษ์รักษานครได้ถึง ๓ ปี ซึ่งหากพวกกบฎไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวลาวด้วยกันแล้ว ก็ยากที่จะอาศัยกำลังเพียง ๒๘ คนในการเข้ายึดครองเมืองนครราชสีมาและต้านศึกอยุธยาได้เป็นเวลาช้านาน


แหล่งที่มา www.oceansmile.com/K/Ayuttaya/KingPetracha.htm

แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว



แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว เป็นแหล่งโบราณคดีใน ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ที่ตั้ง

แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
ชุมชนดึกดำบรรพ์ คน ๓ พันปี บ้านโป่งมะนาว เป็นแหล่งโบราณคดียุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบโครงกระดูกมนุษย์มากที่สุดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เท่าที่ได้ทำการขุดค้นแล้วในปัจจุบัน เป็นหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่นัก อยู่ในเขตการปกครองของตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๕ กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 23 กิโลเมตร จากการศึกษาโดย รศ.สุรพล นาถะพินธุ จากภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ผ่านมาพบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยเฉพาะในช่วง 2,500 - 1,500 ปีมาแล้วเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งกิจกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ การอยู่อาศัย และการผลิต ได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางประชากร ศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

ประวัติการขุดค้น

นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ราษฎรในหมู่บ้านโป่งมะนาวและหมู่บ้านข้างเคียงในตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ก็ได้ทราบกันอย่างดีว่าที่บริเวณวัดโป่งมะนาวเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่บริเวณนี้ถูกขุดหาโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย และได้พบโบราณวัตถุมากมายหลายประเภท โดยล้วนพบฝังอยู่ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ แต่การลักลอบขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณวัดบ้านโป่งมะนาวได้มีการลักลอบขุดค้นได้เพียง 2 วันก็ยุติลงเพราะว่านายสมส่วน บูรณพงษ์ ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ร่วมกับอาจารย์ภูธร ภูมะธน จากชมรมรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ดำเนินการแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ได้เข้าดำเนินการจับกุมคนร้ายได้ทั้งหมด 64 ราย พร้อมของกลางโบราณวัตถุจำนวนมาก ต่อมานายสมส่วน บูรณพงษ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาให้เป็น "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" โดยดำเนินการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีการวิจัยและพัฒนา(R&D)การนำชมโดย "ยุวมัคคุเทศก์ประจำแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" โดยมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งโบราณคดีที่ดำเนินการโดยชุมชนเองโดยมีองค์การภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างยั่งยืนตลอดมา ต่อมาสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานชุมชุนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7

กำเนิดอาณาจักรอยุธยา



แหล่งที่มา www.youtube.com/watch?v=Y068ITVRbCU