วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมืองลพบุรี

 ลพบุรี เป็นเมืองที่มีแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   มีหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญ ดังกล่าว ได้แก่                                        - ารขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา  ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค  อายุระหว่าง3,500-4,500  ปี                 - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่  ที่บ้านโคกเจริญ  อายุระหว่าง 2,700-3,500  ปี                 - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด  ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  อายุระหว่าง 2,300 - 2,700 ปี                 - การขุดพบชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี  ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง  เมืองโบราณดงมะรุม อ.โคกสำโรง  เมืองใหม่ไพศาลี  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี                - การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหรียญทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตามคตินิยมของที่ต.หลุมข้าว  อ.โคกสำโรง 
           การพบหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่า  ลพบุรี  เป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในส่วนของการ สร้างเมืองลพบุรีนั้น  ตามประวัติศาสตร์ในพงศาวดารโยนก  กล่าวว่า  ผู้สร้างเมืองลพบุรีหรือที่เรียกว่า "ละโว้" ในสมัยโบราณ คือ "พระเจ้ากาฬวรรณดิษ" ราชโอรสแห่งพระเจ้ากรุงขอม  ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1002 และเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ ่สมัยทวารวดีเคยอยู่ใต้อำนาจของมอญและขอม  จนกระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ คนไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  ลพบุรีดำรงฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  กล่าวคือ  พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี  ซึ่งพระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม คูเมืองและสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตในปีพ.ศ.1912  พระราเมศวรได้ถวายราชบัลลังค์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์  ซึ่งได้ครองราชย์ พระนามว่า  พระบรมราชาธิราชที่ 1  ส่วนพระ ราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีต่อไปจนถึง พ.ศ.1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา 

ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร 
          "ปราสาทเขาพระวิหาร" หรือ "ปราสาทพระวิหาร" เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนเทพสถิตย์บนขุนเขาหรือ "ศรีศิขเรศร" เป็น "เพชรยอดมงกุฎ" ขององค์ศิวะเทพ (พระอิศวร) ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก มีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ ส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาวและบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับ) 

          ปราสาทเขาพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้น เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้น และปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนของ "ขะแมร์กัมพูชา" (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบัน และในภาคอีสานของเรา ขะแมร์กัมพูชา เป็นชนชาติที่มีความสามารถยิ่งในการสร้าง "ปราสาท" ด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งขะแมร์กัมพูชาก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ "ยโสวรมันที่ 1" ถึง "สุริยวรมันที่ 1" เรื่อยมาจน "ชัยวรมันที่ 5-6" จนกระทั่งท้ายสุด "สุริยวรมันที่ 2" และ "ชัยวรมันที่ 7" จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง)  
          ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู) คั่นอยู่ 5 ชั้น (โคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้าจะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้ 

          เดิมทีปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ  

          ต่อมาเมื่อปี 2450 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส (ปกครองเขมรขณะนั้น) อาศัยแสนยานุภาพทางทหารบีบให้รัฐบาลสยาม (ไทย) ยอมเขียนแผนที่กำหนดให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามก็ยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศษสร้างขึ้นมาแต่โดยดีโดยมิได้ทักท้วง (ซึ่งแต่เดิมถ้าแบ่งตามสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เขาพระวิหารจะอยู่ในฝั่งไทยแต่พอแบ่งตามแผนที่ใหม่ของปี 1907จะอยู่ในฝั่งกัมพูชา) อาจจะเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ในขณะนั้น และคนไทยก็ยังสามารถเข้าไปยังปราสาทเขาพระวิหารได้โดยง่าย  

          ทั้งๆ ที่ไม่ว่าจะตามสนธิสัญญาเดิม พ.ศ.2447 หรือตามสภาพภูมิศาสตร์ กำหนดให้อยู่ในดินแดนของไทยอย่างชัดเจน จนวันที่ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา ภายใต้การหนุนหลังของฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ 
"แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"   เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย   โบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการทั้งด้านเศรษฐกิจ วิทยาการและศิลปะอย่างแท้จริง และพัฒนาการเหล่านั้นได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมานับพัน ๆ ปี
               วัฒนธรรมบ้านเชียงจึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันๆ ปี โดยมีการพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรกคือเมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รวมทั้งมีการจัดระบบเช่น การฝังศพเป็นประเพณีสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายสมัย นับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดระบบสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่น"การผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง", "การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ" โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง มิได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกัน

เจ้าตาก

อาณาจักรสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุดสุโขทัย เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วสารทิศมาพบปะกันจริงๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นของประวัติศาสตร์ มีการปรากฏตัวของ มะกะโท ซึ่งเป็นพ่อค้า และยังมีการเข้าตีเมืองตาก โดยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของสุโขทัย ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า สุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้[ต้องการอ้างอิง] โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง สันนิษฐานว่าเป็นผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ[ต้องการอ้างอิง] เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุสงครามอย่างที่เข้าใจกัน เพราะขอมสบาดโขลญลำพงครองสุโขทัยเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถชี้ชัดระยะเวลาที่แท้จริงได้ก็ตาม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.sukhothai.go.th/tour/tour_01.htm

เมืองจำลอง




เมืองจำลองตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 143 เลยสี่แยก ตลาดนาเกลือ ประมาณ 500 เมตร เป็น สถานที่รวบรวมของโบราณสถาน และสถานที่สำคัญ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานพระราม 9 ปราสาทหินพิมาย ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีมินิยุโรป ซึ่งจำลองสถาปัตยกรรม ที่มีชื่อเสียง ของประเทศต่างๆ ทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป และอเมริกา เช่นหอไอเฟล เทพี สันติภาพ แกรนแคนยอน ฯลฯ
เมืองจำลอง ก็เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดแบบเดียวกันนี้ โดยคุณเกษม เกษมเกียรติสกุล ซึ่งมีความสนใจ งานศิลปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อีกทั้งยังได้มีโอกาสเดินทาง ไปทำธุรกิจ และทำท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ในหลายประเทศ และในส่วนนี้ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่ได้ไปเยือนแล้ว เกิดความ ประทับใจ จนกระทั่งได้มีโอกาสไปเที่ยวชมที่ Madurodum ประเทศเนเธอแลนด์ และ Window on China ประเทศ ไต้หวัน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้จำลองสถานที่ และสถาปัตยกรรมที่สำคัญของโลกมารวบ รวมไว้ในอัตราส่วน1:25 เพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม จึงได้เกิดความคิดว่าในเมืองไทยก็มีศิลปะที่มีความ สวยงามไม่แพ้กันรวมทั้ง สถาปัตยกรรม และโบราณสถานทางประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่งซึ่งโอกาสที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะสามารถไปเที่ยวชมในทุกสถานที่นั้นมีน้อยมากแต่ถ้าเรา สามารถรวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ เหล่านี้มาจำลองรวมไว้ใน ที่เดียวกัน โดยยังคงรักษารายละเอียดไว้ได้เหมือน สถานที่จริง คงจะทำให้นักท่องเที่ยวรวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่ได้ ้เข้าไปสัมผัส ได้รับรู้คุณค่า และความสวยงาม ของสถาปัตยกรรมไทยได้มากขึ้น หลังจากที่เกิดแนวคิดนี้ คุณเกษม เกษมเกียรติสกุล ได้ใช้เวลากว่า 5 ปีใน การเดินทางไปสำรวจและศึกษาสถานที่ สำคัญต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนยังต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษา และรวบรวมงานศิลปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีความโดดเด่น เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมา ถ่ายทอดผ่านผลงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ์ตามแนวคิดที่ได้ตั้งใจไว้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2529 เมืองจำลองจึงเกิด ขึ้นภายใต้แนวคิดดังกล่าวที่ต้องการให้เป็นสถานที่
ท่องเที่ยวเชิงวิชาการในพื้นที่ 30 ไร่

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.paiduaykan.com/76_province/east/.../minisiam.html

เมืองโบราณ สมุทรปราการ




เมืองโบราณ - สมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนายประไพ วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย เป็นสถานที่รวบรวมวัฒนธรรม ของไทย อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 800 ไร่ ลักษณะที่ดินมีผังบริเวณคล้ายรูปขวาน เหมือนกับอาณาเขตของประเทศไทย ภายในจะมีโบราณสถาน ปูชนียสถาน วัดโบราณ พระราชวัง ต่างๆ เป็นต้น และยังมี ส่วนรังสรรค์เป็นสถานที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของไทย มีไว้จัดแสดงที่นี่ด้วย ใน พ.ศ. 2549 รายการอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6 รายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาได้ นำผู้เข้าแข่งขันมาแข่งรอบชิงชนะเลิศที่นี่ โดยใช้ศาลาพระอรหันต์ซึ่งเป็นศาลากลางน้ำขนาดใหญ่เป็นรันเวย์ และถือได้ว่าเป็นเวทีเดินแบบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการ นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่ภายในพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทจำลองเป็นสถานที่ในการ ตัดสินผู้ชนะอีกด้วย วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 500 คน นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางมายังเมืองโบราณ เพื่ออ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายภาคีทวงคืนดินแดนแผ่นดินไทย จะดำเนินการทุกวิถีทางตามกรอบของกฎหมาย เพื่อทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหารมา เป็นของคนไทย จะดำเนินคดีกับคนที่ทำให้แผ่นดินไทยต้องถูกรุกล้ำ และทำให้เสียดินแดน ขอให้ชาวกัมพูชาที่รุกล้ำแผ่นดินไทยออกนอกพื้นที่ และประณามคณะกรรมการมรดกโลกที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและลำเอียง หลังจากนั้น ทั้งหมดได้ร่วมกันเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา ร้องเพลงชาติไทย ดังกึกก้องเมืองโบราณ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.ancientcity.com/?q=/th/how-to-visit