ลพบุรี เป็นเมืองที่มีแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญ ดังกล่าว ได้แก่ - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อายุระหว่าง3,500-4,500 ปี - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ ที่บ้านโคกเจริญ อายุระหว่าง 2,700-3,500 ปี - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อายุระหว่าง 2,300 - 2,700 ปี - การขุดพบชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง เมืองโบราณดงมะรุม อ.โคกสำโรง เมืองใหม่ไพศาลี ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี - การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหรียญทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตามคตินิยมของที่ต.หลุมข้าว อ.โคกสำโรง | ||
การพบหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่า ลพบุรี เป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในส่วนของการ สร้างเมืองลพบุรีนั้น ตามประวัติศาสตร์ในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า ผู้สร้างเมืองลพบุรีหรือที่เรียกว่า "ละโว้" ในสมัยโบราณ คือ "พระเจ้ากาฬวรรณดิษ" ราชโอรสแห่งพระเจ้ากรุงขอม ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1002 และเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ ่สมัยทวารวดีเคยอยู่ใต้อำนาจของมอญและขอม จนกระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ คนไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีดำรงฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือ พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี ซึ่งพระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม คูเมืองและสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตในปีพ.ศ.1912 พระราเมศวรได้ถวายราชบัลลังค์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ครองราชย์ พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระ ราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีต่อไปจนถึง พ.ศ.1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา |
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เมืองลพบุรี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น